วันพุธที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2557

แคว้นกอล[แก้]

เวอร์ซินเกโทริกยอมจำนนต่อจูเลียส ซีซาร์
ชาวเคลท์ (Celts) อาศัยอยู่ในฝรั่งเศสและดินแดนรอบข้างมานานตั้งแต่ก่อนประวัติศาสตร์ ซึ่งชาวโรมันเรียกพวกเคลท์ว่า กอล และเรียกดินแดนของพวกเขาว่าแคว้นกอล เมืองต่างๆในฝรั่งเศสปัจจุบันก็มีรากฐานมาจากชาวโกล เช่น เมืองลูเทเทีย (ปารีส) เบอร์ดิกาลา (บอร์โดซ์) โทโลซา (ตูลูส) ส่วนนักเดินเรือชาวกรีกก็ตั้งอาณานิคมที่มาซซาเลีย (มาร์เซย) และนิคาเอีย (นีซ) ใน 390 ปีก่อนค.ศ. เบรนนุสผู้นำเผ่าโกลนำทัพบุกทำลายกรุงโรม ทำให้ชาวโรมันมีความแค้นฟังใจกับชาวโกล
ใน 58 ปีก่อนค.ศ. จูเลียส ซีซาร์ ได้เป็นกงสุลแห่งโกล (ผู้ครองแคว้นกอล) จึงทำทัพเข้าพิชิตแคว้นกอลทั้งหมดได้เมื่อ 52 ปีก่อนvค.ศ. ในยุทธการที่อเลเซีย ซึ่งผู้นำเผ่ากอล เวอร์ซินเกโทริก (Vercingetorix) พ่ายแพ้และยอมจำนน แคว้นกอลและชาวกอลจึงตกอยู่ภายใต้การปกครองของโรมัน
ชางโรมันแบ่งแคว้นกอลออกเป็น 5 แคว้น คือ แกลเลียซิซัลพินาแกลเลียนาร์โบเนนซิสแกลเลียแอควิเทเนียแกลเลียลุกโดเนนซิส และ แกลเลียเบลจิกา ชาวโรมันกวาดต้อนชาวเคลท์กระจัดกระจายไปทั่วจักรวรรดิโรมันเพื่อป้องกันการรวมตัวต่อต้าน จนวัฒนธรรมโรมันเข้าแทนที่วัฒนธรรมเคลท์ในแคว้นกอล ผสมผสานรวมกันเป็นวัฒนธรรมกาลโล-โรมัน (Gallo-Roman Culture) ในปี ค.ศ. 260 ขณะที่จักรวรรดิโรมันกำลังวิกฤต แคว้นกอลได้แตกแยกออกมาเป็นจักรวรรดิกัลลิก (Gallic Empire) แต่ก็ถูกจักรพรรดิออเรเลียนผนวกอีกครั้งใน ค.ศ. 274
เมื่ออำนาจของจักรวรรดิโรมันเลื่อมลง ชนเผ่าเยอรมันก็สามารถรุกรานเข้าแคว้นโกลได้ เริ่มด้วยพวกแวนดัล (Vandals) ใน ค.ศ. 406 และพวกวิซิกอธ ได้รับแคว้นอากีแตนใน ค.ศ. 410 ใน ค.ศ. 451 อัตติลาเดอะฮั่นยายามจะบุกโกลแต่ชาวโรมันร่วมมือกับพวกวิสิโกธสามารถต้านทานไว้ได้

ชนแฟรงค์[แก้]

เมื่อจักรวรรดิโรมันล่มสลาย สยาคเรียส (Syagrius) ปกครองแคว้น โซอิสสัน (Soissons) แต่ถูกโคลวิส (Clovis) ผู้นำเผ่าซาเลียน แฟรงก์ (Salian Franks ยังไม่ออกเสียงแบบฝรั่งเศส) ข้ามแม่น้ำไรน์มายึดอาณาจักรของซยากริอุสในค.ศ. 486 ในค.ศ. 496 โคลวิสเข้ารีตคริสต์ศาสนาเพื่อให้สามารถปกครองประชาชนที่เป็นคริสเตียนได้ ในค.ศ. 507 โคลวิสชนะอลาริกที่2 กษัตริย์ของวิชิกอธ และยึดแคว้นอากีแตนขับไล่พวกวิชิกอธไปสเปน โคลวิสจึงเป็นปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์เมรอแว็งเฌียง (Merovingian) มีศูนย์กลางที่ปารีส แต่ประเพญีของพวกแฟรงก์จะต้องแบ่งสมบัติให้บุตรเท่ากัน ดังนั้นอาณาจักรแฟรงก์จึงแตกเป็นสี่แคว้นคือ เนิสเตรีย (ปารีสศูนย์กลาง) ออสตราเซีย (แรงส์ศูนย์กลาง) เบอร์กันดี และอากีแตน
เปแปงแห่งเฮอร์สตาล (Pepin of Herstal) อัครเสนาบดี (Mayor of the Palace) แคว้นออสตราเซีย ยึดแคว้นเนิสเตรีย ทำให้ตระกูลเฮอร์ตาลในตำแหน่งอัครเสนาบดีขึ้นมามีอำนาจแทนราชวงศ์เมรอแว็งเฌียงในค.ศ. 711 ทัพของจักรวรรดิกาหลิปอุมัยยะฮ์ทำลายอาณาจักรวิชิกอธ และกลายเป็นภัยคุกคามที่ยิ่งใหญ่ ในค.ศ. 732 ชาลส์ มาร์เตล (Charles Martel) ลูกชายของเปแปง ขับไล่การรุกรานของชาวมุสลิมได้ในยุทธการตูรส์ ในค.ศ. 751 เปแปงผู้เตี้ยสั้น (Pepin the Short) ลูกชายของชารส์ มาร์เตล ได้ขึ้นเป็นกษัตริย์พวกแฟรงก์และตั้งราชวงศ์การอแล็งเฌียง (Carolingian)
พระโอรสของเปแปงผู้เตี้ยสั้น คือ ชาร์เลอมาญรวบรวมอาณาจักรแฟรงก์ที่แตกแยกอีกครั้งได้ในค.ศ. 771 แผ่ขยายอิทธิพลของชนแฟรงก์ไปสูงสุด โดยบุกยึดอิตาลีจะกลุ่มลอมบาร์ด (ค.ศ. 774) บุกยึดแคว้นบาวาเรีย (ค.ศ. 788) ต้านการรุกรานของพวกอวาร์ (ค.ศ. 796) ยึดบาร์เซโลนาจากกาหลิปอุมัยยะฮ์ในสเปน (ค.ศ. 801) และปราบปรามชาวแซ็กซอน (ค.ศ. 804)
ในค.ศ. 800 สมเด็จพระสันตะปาปาลีโอที่ 3 ได้สวมมงกุฎ (ของลอมบาร์ด) ให้ชาร์เลอมาญเป็นจักรพรรดิโรมัน เป็นการเริ่มต้นของจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ แต่อาณาจักรคาโรแลงเจียนก็แตกแยกเมื่อหลานทั้งสามของชาร์เลอมาญ คือ ชาลส์ผู้ศีรษะล้าน (Charles the Bald) หลุยส์เยอรมัน (Louis the German) และโลแธร์ที่ 1 (Lothair I) ขัดแย้งกันแย่งชิงราชสมบัติ ในค.ศ. 843 สนธสัญญาแวร์ดัง ได้แบ่งอาณาจักรเป็นสามส่วน ส่วนของชาลส์ผู้ศีรษะล้าน คือาณาจักรแฟรงก์ตะวันตก จะกลายเป็นประเทศฝรั่งเศสในปัจจุบัน
เมื่อาณาจักรแตกแยกราชวงศ์คาโรแลงเจียนเสื่อมอำนาจ ทำให้ชาวไวกิงสามารถปล้นสะดมเมืองท่าต่างๆ และได้แคว้นนอร์มังดีไปครอง บ้านเมืองไม่มีขื่อแป ทำให้เคานท์แห่งปารีสกุมอำนาจแทนที่ราชวงศ์คาโรแลงเจียน แต่ก็เฉพาะในกรุงปารีสเท่านั้น ตามท้องที่ต่างๆ เมื่อพบว่ากษัตริย์ไม่สามารถปกป้องพวกตนจากการคุกคามของไวกิ้งได้ จึงหันไปพึ่งขุนนางท้องถิ่น เป็นเหตุให้ระบบศักดินาสวามิภักดิ์เรืองอำนาจ บรรดาเจ้าครองแคว้นพากันตั้งตนเป็นใหญ่ โดยที่เคานท์แห่งปารีส ซึ่งเป็นบรรพบุรุษของราชวงศ์กาเปเซียง (Capetian) มีอำนาจอยู่แค่บริเวณปารีสเท่านั้น

สมัยกลาง[แก้]

อาณาจักรฝรั่งเศสสมัยพระเจ้าอองรีที่1
ในค.ศ. 987 ราชวงศ์คาโรแลงเจียนหมดสิ้นไปในอาณาจักรแฟรงก์ตะวันตก อูก กาแป (Hugh Capet) เคานท์แห่งปารีส ได้ขึ้นครองราชย์นับเป็นปฐมกษัตริย์ฝรั่งเศส ราชวงศ์กาเปเชียง แต่อาณาจักรที่พระเจ้าอุคต้องปกครองนั้นเต็มไปด้วยความแตกแยกบรรดาขุนนางต่างๆทำสงครามกับเองเพื่อแย่งชิงดินแดนหรือแม้แต่กบฏต่อพระเจ้าอุคที่ปารีส อำนาจของกษัตริย์ฝรั่งเศสนั้นจึงน้อยนิดแทบทำอะไรไม่ได้ มีอำนาจเฉพาะบริเวณปารีสเท่านั้น
ในค.ศ. 1023 โรแบร์ที่ 2 พระโอรสของอุค กาเป ได้เจรจาสงบศึกกับจักรพรรดิเฮนรีที่ 2 แห่งจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ (อาณาจักรแฟรงก์ตะวันออก) ว่าจะไม่อ้างสิทธิของกันและกันอีก พระเจ้าโรแบร์ที่ 2 ทรงได้รับสมยาว่า ผู้เคร่งศาสนา เพราะทรงสร้างสันติภาพในหมู่ขุนนาง ใช้วิธีทางทูตมากกว่าสงครามเรียกว่า The Peace and Truce of God และยังทรงให้มีการปรับปรุงวินัยของบาทหลวงเสียใหม่ตามหลักการของพวกเบเนดิกทีน เรียกว่า การปฏิรูปกลูนีอัก (Cluniac Reforms) อองรีที่ 1 พระโอรสของโรแบร์ที่ 2 อำนาจของพระองค์ถูกลดอย่างมากเพราะขุนนางต่างๆแผ่ขยายดินแดน โดยเฉพาะดยุควิลเลียมแห่งนอร์มังดี บุกยึดอาณาจักรอังกฤษในค.ศ. 1066 และทางใต้ดยุคแห่งอากีแตนได้ดินแดนในฝรั่งเศสไปครึ่งประเทศ
จนในรัชสมัยของพระเจ้าหลุยส์ที่ 6 อำนาจของกษัตริย์ฝรั่งเศสจึงเริ่มจะแผ่ขยาย เพราะบรรดาขุนนางต่างใช้กำลังไปมากในสงครามครูเสด ทำให้เริ่มจะอ่อนแอ พระเจ้าหลุยส์ที่6 ทรงปราบปรามบารอนโจร (Robber Barons) ที่คอยปล้มสะดมเรือต่างๆและมีอำนาจในปารีส ทรงทุบทำลายปราสาทของบารอนพวกนี้ และทรงดำเนินนโยบายที่แข็งกร้าวกับพวกขุนนาง ขุนนางคนใดไม่เชื่อฟังจะถูกยึดที่ดินหรือส่งกำลังไปปราบปราม
ดินแดนของอังกฤษบนผืนแผ่นดินฝรั่งเศส
ในค.ศ. 1137 พระเจ้าหลุยส์ที่ 7 ทรงอภิเษกสมรสกับเอเลเนอร์แห่งอากีแตน (Eleanor of Aquitaine) บุตรสาวของดยุคแห่งอากีแตนอันกว้างใหญ่ ทำให้ฝรั่งเศสมีสิทธิจะยึดแคว้นใหญ่นี้ได้ ในค.ศ. 1154 เฮนรี พลันตาจาเนต (Henry Plantaganet) ดยุคแห่งอังชู ได้เป็นพระเจ้าเฮนรีที่ 2 แห่งอังกฤษ พระเจ้าหลุยส์ทรงเข้าร่วมสงครามครูเสดครั้งที่ 2ทำให้ทรงมีความขัดแย้งกับราชินีเอเลเนอร์ ทำให้มีการหย่าขาดจากกันในค.ศ. 1152 เอเลเนอร์แห่งอากีแตนต่อมาอภิเษกกับเฮนรีที่ 2 แห่งอังกฤษ ประจวบเหมาะกับที่ดยุคแห่งอากีแตนสิ้นชีวิต ทำให้อังกฤษได้แคว้นอากีแตนอันกว้างใหญ่ทางตอนใต้ของฝรั่งเศสไปครอง กลายเป็นจักรวรรดิแองเจวิน (Angevin Empire) ผลคืออังกฤษเป็นภัยคุกคามที่ใหญ่หลวงต่อกษัตริย์ฝรั่งเศส
ด้วยสงครามที่หนักหน่วงทำให้พระเจ้าฟิลิปที่ 2 ออกุสตุสทรงสามารถยึดแคว้นอากีแตนจากพระเจ้าจอห์นแห่งอังกฤษจนเกือบหมดได้ (เหลือเพียงกาสโคนี) ในค.ศ. 1214 ทำให้ที่ดินของฝรั่งเศสแผ่ขยายไปกว้างกว่าเดิมมาก และยังทรงตั้งมหาวิทยาลัยปารีสอีกด้วย นักบุญหลุยส์ (พระเจ้าหลุยส์ที่ 9) ก็ทรงขับเขี่ยวกับอังกฤษต่อไปอีก และสงครามครูเสดอัลบีเจนเซียนทำให้ทรงยึดแคว้นตูลูสได้ ทำให้ฝรั่งเศสเป็น "ประเทศ" ขึ้นมาได้ และกลายเป็นมหาอำนาจแห่งยุโรปในสมัยกลาง พระเจ้าฟิลิปผู้โฉมงาม(Philip the Fair) ทรงทำสัญญาพันธมิตรเก่า (Auld Alliance) กับสกอตแลนด์เพื่อต่อต้านอังกฤษ ทรงขับไล่พวกอัศวินเทมพลาร์ และตั้งสภาปาเลอร์มองต์ อำนาจของฝรั่งเศสมีมากมายเสียจนสามารถดึงพระสันตปาปามาประทับที่อาวิญอง(Avignon) ได้ในค.ศ. 1305 สร้างความไม่พอใจไปทั่วยุโรป ด้วยเกรงว่าฝรั่งเศสจะครอบงำองค์พระสันตปาปา


ในค.ศ. 1324 พระเจ้าชาลส์ที่ 4 สิ้นพระชนม์โดยไม่มีทายาท ทำให้ราชวงศ์กาเปเชียงสายตรงต้องสิ้นสุดลง พระเจ้าเอ็ดวาร์ดที่ 3 แห่งอังกฤษเป็นพระนัดดาของพระเจ้าชาลส์ที่ 4 เป็นพระญาติชายที่ใกล้ชิดที่สุดทางสายพระโลหิต จึงเป็นผู้มีสิทธิจะครองบัลลังก์มากที่สุด แต่ขุนนางฝรั่งเศส ไม่ต้องการให้กษัตริย์อังกฤษมาปกครองฝรั่งเศส จึงอ้างกฎบัตรซาลลิคของชนแฟรงก์โบราณว่า การสืบสันติวงศ์จะต้องผ่านทางผู้ชายเท่านั้น และให้ฟิลิปเคานท์แห่งวาลัวส์ (Philip, Count of Valois) ที่สืบเชื้อสายจากพระเจ้าฟิลิปที่ 3 ขึ้นครองราชย์เป็นพระเจ้าฟิลิปที่ 6 เป็นปฐมกษัตริย์ราชวงศ์วาลัวส์ (Valois dynasty) ซึ่งเป็นสาขาของราชวงศ์กาเปเชียง ในค.ศ. 1331 พระเจ้าเอ็ดวาร์ดที่ 3 ทรงยินยอมที่จะสละสิทธิ์ในบัลลังก์ฝรั่งเศสทั้งมวลแต่ครองแคว้นกาสโคนี ในค.ศ. 1333 พระเจ้าเอ็ดวาร์ดทรงทำสงครามกับสกอตแลนด์ ทำให้พระเจ้าฟิลิปที่ 6 ทรงเห็นเป็นโอกาสจึงนำทัพบุกยึดแคว้นกาสโคนี แต่พระเจ้าเอ็ดวาร์ดทรงปราบปรามสกอตแลนด์อย่างรวดเร็ว และหันมาตอบโต้พระเจ้าฟิลิปได้ทัน
สงครามร้อยปีเริ่มต้นในค.ศ. 1337 ในตอนแรกทัพเรือฝรั่งเศสสามารถโจมตีเมืองท่าอังกฤษได้หลายที่ แต่ลมก็เปลี่ยนทิศเมื่อทัพเรือฝรั่งเศสถูกทำลายล้างในการรบที่สลุยส์ (Sluys) ในค.ศ. 1341 ตระกูลดรือซ์แห่งแคว้นบรีตตานีสูญสิ้น พระเจ้าเอ็ดวาร์ดและพระเจ้าฟิลิปจึงสู้รบกันเพื่อให้คนของตนได้ครองแคว้นบรีตตานี ในค.ศ. 1346 พระเจ้าเอ็ดวาร์ดทรงสามารถขึ้นบกได้ที่เมืองคัง ในนอร์มังดี เป็นที่ตกใจแก่ชาวฝรั่งเศส พระเจ้าฟิลิปแต่งทัพไปสู้ แต่พระเจ้าเอ็ดวาร์ดทรงหลบหนีไปประเทศภาคต่ำ (Low Countries) ทัพฝรั่งเศสตามมาทัน แต่พ่ายแพ้ยับเยินที่การรบที่เครซี (Crecy) ทำให้พระเจ้าเอ็ดวาร์ดต่อไปยึดเมืองท่าคาเลส์ของฝรั่งเศสและยึดเป็นที่มั่นบนแผ่นดินฝรั่งเศสได้ในค.ศ. 1347
ในค.ศ. 1348 ระหว่างที่ฝรั่งเศสกำลังลุกเป็นไฟด้วยสงคราม กาฬโรคก็ระบาดมาถึงฝรั่งเศส คร่าชีวิตผู้คนหลายล้าน ทำให้ประชากรฝรั่งเศสลดลงอย่างมาก ทำให้สงครามหยุดชะงัก จนโรคระบาดเริ่มคลี่คลายในค.ศ. 1358 องค์ชายเอ็ดวาร์ด (Edward, the Black Prince) พระโอรสของพระเจ้าเอ็ดวาร์ด บุกอังกฤษจากกาสโคนี ชนะฝรั่งเศสในการรบที่ปัวติแยร์ (Poitiers) จับพระเจ้าฌองแห่งฝรั่งเศสได้ ด้วยอำนาจของฝรั่งเศสที่อ่อนแอลง ทำให้ตามชนบทไม่มีขื่อแปโจรอาละวาด ทำให้ชาวบ้านก่อจลาจลกันมากมาย พระเจ้าเอ็ดวาร์ดเห็นโอกาสจึงทรงบุกอีกครั้ง แต่ถูกองค์รัชทายาทแห่งฝรั่งเศสต้านไว้ได้ จนทำสนธิสัญญาบรีติญญี ในค.ศ. 1360 อังกฤษได้อากีแตน บรีตตานีครึ่งนึง คาเลส์
แต่พระเจ้าชาลส์ที่ 5 และแบร์ทรันด์ ดู เกอสแคลง (Bertrand du Guesclin) ก็สามารถยึดดินแดนต่างๆคืนได้ในรัชสมัยของพระองค์ เพราะอังกฤษติดพันกับสงครามในสเปน และพระเจ้าเอ็ดวาร์ดทรงสิ้นพระชนม์ในค.ศ. 1377 และองค์ชายเอ็ดวาร์ดค.ศ. 1376 แต่ดูเกอสแคลงก็สิ้นชีวิตในค.ศ. 1380 จนทำสัญญาสงบศึกกัน
โยนแห่งอาร์คกู้เมืองออร์เลียงส์
สงครามร้อยปีหยุดยาวเพราะฝรั่งเศสตกอยู่ในสงครามกลางเมืองระหว่างตระกูลอาร์มันญัค (Armagnac) และดยุคแห่งเบอร์กันดี และขอให้อังกฤษช่วย พระเจ้าเฮนรีที่ 5 แห่งอังกฤษ ก็ทรงนำทัพบุกฝรั่งเศสในค.ศ. 1415 และชนะฝรั่งเศสขาดลอยในการรบที่อแกงคูร์ต (Agincourt) ได้ดยุคแห่งเบอร์กันดีมาเป็นพวก และยึดฝรั่งเศสตอนเหนือไว้ได้ทั้งหมดในค.ศ. 1419 พระเจ้าเฮนรีทรงเฝ้าพระเจ้าชาลส์ที่ 6 แห่งฝรั่งเศสซึ่งทรงพระสติไม่สมประกอบ ทำสัญญาให้พระโอรสพระเจ้าเฮนรีขึ้นครองฝรั่งเศสเมื่อพระเจ้าชาร์ลส์สิ้นพระชนม์ แต่ทัพสกอตแลนต์ก็มาช่วยขัดขวางเอาไว้ เมื่อพระเจ้าชาลส์สิ้นพระชนม์ พระเจ้าเฮนรีที่ 6 แห่งอังกฤษ ก็ขึ้นเป็นกษัตริย์ฝรั่งเศส แต่ตระกูลอาร์มันญัคยังคงจงรักภัคดีต่อองค์รัชทายาทฝรั่งเศส
ในค.ศ. 1428 อังกฤษล้อมเมืองออร์เลียงส์ แต่โยนแห่งอาร์ค (Joan of Arc หรือ Jeanne d'Arc - ชานดาก) เสนอตัวขับไล่ทัพอังกฤษกล่าวว่านางเห็นนิมิตว่าพระเจ้าให้เธอปลดปล่อยฝรั่งเศสจากอังกฤษ จนสามารถขับไล่ทัพอังกฤษออกไปได้ในค.ศ. 1429 และยังสามารถเปิดทางให้องค์รัชทายาทสามารถยึดเมืองแรงส์เพื่อราชาภิเษกพระเจ้าชาลส์ที่ 7 นับเป็นจุดเปลี่ยนในสงครามร้อยปี แต่โยนแห่งอาร์คถูกพวกเบอร์กันดีจับได้และส่งให้อังกฤษ และถูกเผาทั้งเป็น ในค.ศ. 1435 แคว้นเบอร์กันดีหันมาเป็นพวกฝรั่งเศส แม้ฝ่ายอังกฤษจะมีจอห์น ทัลบอต ที่ดุร้าย แต่พระเจ้าชาลส์ที่ 7ก็ทรงสามารถยึดฝรั่งเศสคืนได้เกือบหมดในค.ศ. 1453 (ยกเว้นคาเลส์) ในการรบที่คาสตีลโลญ(Castillogne) ซึ่งฝรั่งเศสใช้ปืนเป็นครั้งแรก เป็นอันสิ้นสุดสงครามร้อยปี

ราชวงศ์บูร์บง (ค.ศ. 1593 - ค.ศ. 1793)[แก้]

คาร์ดินัล ริเชอลิเออ
สมัยราชวงศ์บูร์บงเป็นสมัยที่ฝรั่งเศสรุ่งโรจน์ พระเจ้าอองรีที่ 4 ทรงส่งแซมมวล เดอ ชองแปลง (Samuel de Champlain) ไปตั้งเมืองคิวเบกและอาณานิคมแคนาดา ในค.ศ. 1610 พระเจ้าหลุยส์ที่ 13 ครองราชย์แต่ยังพระเยาว์ มีคาร์ดินัล ริเชอลิเออ (Cardinal Richelieu) สำเร็จราชการแทน คาร์ดินัลริเชอลิเออทำลายล้างอำนาจของพวกอูเกอโนต์ที่ได้รับการสนับสนุนจากพระเจ้าอองรีที่ 4 ในค.ศ. 1624 เกิดสงครามสามสิบปีในจักรวรรดิโรมันอันศักดิสิทธิ์ ฝ่ายสวีเดนเข้าช่วยฝ่ายโปรเตสแตนต์แต่ไม่เป็นผล คาร์ดินัลริเชอลิเออจึงให้ฝรั่งเศสเข้าร่วมรบฝ่ายโปรเตสแตนต์ ทั้งๆที่ฝรั่งเศสและตัวคาร์ดินัลเองเป็นคาทอลิก เพราะต้องการล้มอำนาจของสเปน ทัพฝรั่งเศสชนะสเปนที่โรครัว (ค.ศ. 1643) และเลนส์ (ค.ศ. 1648) ในค.ศ. 1643 คาร์ดินัลริเชอลิเออสิ้นชีวิต เกิดกบฏฟรองด์ ที่ต่อต้านอำนาจของกษัตริย์และที่ปรึกษา มีสเปนหนุนหลัง แต่ฝรั่งเศสก็สามารถปราบปรามได้ จนทำสนธิสัญญาพีรีนีส ในค.ศ. 1659 ยึดแคว้นรูซิยอง (Roussillon) จากสเปน

พระเจ้าหลุยส์ที่ 14 (ค.ศ. 1643 - ค.ศ. 1715)[แก้]

ในค.ศ. 1660 พระเจ้าหลุยส์ที่ 14 ทรงอภิเษกกับองค์หญิงมาเรีย เธเรซา พระธิดาของพระเจ้าฟิลิปที่ 4 แห่งสเปน ซึ่งพระเจ้าฟิลิปก็ป้องกันการอ้างสิทธิของฝรั่งเศสโดยการให้องค์หญิงมาเรียเธเรซาสละสิทธิ์ในดินแดนของสเปนทุกส่วน โดยมีสินสอด (ฝ่ายหญิงให้ฝ่ายชาย) จำนวนมหาศาลเป็นค่าตอบแทน ในค.ศ. 1661 พระเจ้าหลุยส์ทรงแต่งตั้งให้ชอง-บาพ์ติสต์ โกลแบร์ต(Jean-Baptiste Colbert) เป็นเสนาบดีคลัง โกลแบร์ตสามารกอบกู้สถานะทางการเงินของฝรั่งเศสที่ใกล้จะล้มละลาย โดยการเก็บภาษีแบบใหม่ ทำให้เงินในพระคลังเพิ่มเป็นสามเท่า เป็นที่มาของความฟุ่มเฟือยในราชสำนักของพระเจ้าหลุยส์ที่แวร์ซาย
ในค.ศ. 1665 พระเจ้าฟิลิปที่ 4 สิ้นพระชนม์ พระเจ้าชาร์ลส์ที่ 2 แห่งสเปนขึ้นครองราชย์แทน แต่พระเจ้าหลุยส์ทรงอ้างว่า กฎเก่าแก่ของอาณาจักรดยุคแห่งบราบองต์(แคว้นหนึ่งในประเทศภาคต่ำ) ว่าแคว้นนี้ต้องตกเป็นของบุตรธิดาของภรรยาคนล่าสุด ไม่ใช่คนแรกสุด ก็คือราชินีมาเรียเธเรซานั่นเอง ดังนั้นพระเจ้าหลุยส์จึงทวงแคว้นนี้คืนแก่พระราชินี เมื่อสเปนไม่ยอมจึงทำสงครามขยายดินแดนฝรั่งเศส (War of Devolution) และขณะนั้นเนเธอร์แลนด์กำลังทำสงครามกับอังกฤษ ซึ่งเป็นพันธมิตรกับฝรั่งเศสตามสัญญาชั่วคราว พระเจ้าหลุยส์ทรงยึดฟลานเดอร์ส (Flanders) และฟรอง-กองเต (Franche-Comté) จากสเปนได้ ทำให้อังกฤษหันไปเข้าข้างเนเธอร์แลนด์เพื่อต้านฝรั่งเศส จนทำสนธิสัญญาเอกซ์-ลา-ชาเปลล์ ในค.ศ. 1668 คืนฟรอง-กองเตไปก่อน
ในค.ศ. 1672 พระเจ้าหลุยส์ทรงหลอกล่อให้พระเจ้าชาร์ลส์แห่งสเปนเข้าเป็นพันธมิตรได้ และประกาศสงครามกับเนเธอร์แลนด์ เป็นสงครามฝรั่งเศส-ฮอลันดา มีอังกฤษเข้าช่วยฝรั่งเศส แต่ฝ่ายเนเธอร์แลนด์ก็ทำสัญญาพันธมิตรกับสเปนได้แทนฝรั่งเศส รวมทั้งจักรพรรดิโรมันอันศักดิสิทธิ์ ฝ่ายอังกฤษสงบศึกกับเนเธอร์แลนด์ในค.ศ. 1647 ทิ้งฝรั่งเศสให้โดดเดี่ยว แต่ทัพฝรั่งเศสก็สามารถเอาชนะทัพผสมของหลายชาติได้ บุกยึดฟรอง-กองเต ทะลุทลวงไปถึงเนเธอร์แลนด์ จนทำสนธิสัญญาไนมีเกน (Nijmegen) ยกฟรอง-กองเตให้ฝรั่งเศส ในค.ศ. 1678
ด้วยความกำกวมของสนธิสัญญาต่างๆของยุโรปในสมัยนั้น พระเจ้าหลุยส์จึงทรงอ้างว่าดินแดนต่างๆที่เคยเป็นของแคว้นที่ฝรั่งเศสยึดมานั้น ต้องตกเป็นของฝรั่งเศสด้วย ทรงตั้งหอรวบรวมดินแดน (Chamber of Reunion) เพื่อใช้วิธีทางกฎหมายเรียกดินแดนต่างๆให้กับฝรั่งเศส ที่จริงแล้วพระเจ้าหลุยส์ทรงต้องการดินแดนเหล่านั้น เพราะเป็นจุดยุทธศาสตร์สำคัญ เช่น เมืองสตราสบูร์ก และลักเซมเบิร์ก
พระเจ้าหลุยส์ที่ 14 สุริยราชัน
ทศวรรษที่ 1680 เป็นสมัยเรืองอำนาจของฝรั่งเศสและพระเจ้าหลุยส์ วัฒนธรรมฝรั่งเศสต่างๆกลายเป็นแฟชั่นของยุโรป เอาอย่างความหรูหราที่พระราชวังแวร์ซาย ในค.ศ. 1682 ลา ซาล (La Salle) นักสำรวจตั้งชื่อดินแดนลุยเซียนา (Louisiana) ในอเมริกาตามพระนามพระเจ้าหลุยส์ และปีเดียวกันพระเจ้าหลุยส์ทรงประกาศนิกายกัลลิกัน (Gallicanism) จำกัดอำนาจพระสันตปาปาในฝรั่งเศส และให้พระเจ้าหลุยส์ทรงปกครององค์การศาสนาด้วยพระองค์เอง ในค.ศ. 1685 ทรงประกาศกฤษฎีกาฟองแตงโบล ยกเลิกกฤษฎีกาแห่งเมืองนังทส์ของพระอัยกาพระเจ้าอองรีที่ 4 เป็นการเลิกเสรีภาพทุกประการของพวกโปรเตสแตนต์ อูเกอโนต์จึงหนีไปอาณานิคมหรืออังกฤษกันหมด
ในค.ศ. 1686 จักรพรรดิโรมันอันศักดิสิทธิ์และเจ้าเมืองเยอรมันต่างๆเล็งเห็นถึงการขยายอำนาจของฝรั่งเศส จึงตั้งสันนิบาตออกซ์บูร์ก (League of Augsburg) ค.ศ. 1688 พระเจ้าหลุยส์มีรับสั่งให้ยกทัพบุกเยอรมนีเพื่อทวงแคว้นพาลาติเนตคืนให้พระเจ้าน้องเขย แต่ปีเดียวกันวิลเฮม เจ้าชายแห่งออเรนจ์ (Prince of Orange) ผู้ครองเนเธอร์แลนด์ ยึดอำนาจในอังกฤษปราบดาภิเษกเป็นพระเจ้าวิลเลียมที่ 3 แห่งอังกฤษ ทำให้อังกฤษเข้าร่วมสันนิบาตออกซ์บูร์ก กลายเป็นมหาสัมพันธมิตร (Grand Alliance) เกิดสงครามมหาสัมพันธมิตร (War of the Grand Alliance) พระเจ้าหลุยส์ทรงพยายามจะส่งพระเจ้าเจมส์ที่ 2 แห่งอังกฤษคืนบัลลังก์ แต่ก็ถูกทัพของพระเจ้าวิลเลียมทำลายทางทะเล แต่บนบกฝรั่งเศสยึดเนเธอร์แลนด์ได้หลายเมือง และทางสเปนก็ต้านไว้ได้ จนทำสนธิสัญญาไรสวิก (Ryswick) ฝรั่งเศสคืนดินแดนทั้งหมดที่ยึดมายกเว้นเมืองสตราสบูร์ก

พระเจ้าชาร์ลส์ที่ 2 แห่งสเปนทรงไม่มีทายาท พระเจ้าหลุยส์จึงเสนอดยุคแห่งอังชู พระนัดดา เป็นกษัตริย์สเปนองค์ต่อไป แต่ฝ่ายจักรวรรดิโรมันอันศักดิสิทธิ์เสนออาร์คดยุดชาร์ลส์แห่งออสเตรียมาแข่ง แต่ค.ศ. 1700 พระเจ้าชาร์สส์ก่อนสิ้นพระชนม์ยกสเปนรวมทั้งอาณานิคมทั้งหมดให้ดยุคแห่งอังชู เป็นพระเจ้าฟิลิปที่ 5 แห่งสเปน ปฐมกษัตริย์ราชวงศ์บูร์บงในสเปน สร้างความไม่พอใจทั่วยุโรป อีกทั้งพระเจ้าหลุยส์ยังทรงสนับสนุนเจมส์ สจ๊วด ผู้ทวงบัลลังก์อังกฤษของพระเจ้าวิลเลียม ทำให้อังกฤษ เนเธอร์แลนด์ และจักรวรรดิโรมันฯ ตั้งมหาสัมพันธมิตรอีกครั้ง เกิดสงครามสืบราชบัลลังก์สเปน
ฝรั่งเศสส่งทัพบุกออสเตรียทางอิตาลี แต่ถูกต้านไว้ เป็นครั้งแรกที่ฝรั่งเศสพ่ายแพ้ ต่อมาฝรั่งเศสก็พ่ายแพ้ทุกทาง จนต้องกลับกลายเป็นฝ่ายตั้งรับในค.ศ. 1709 แต่ในสเปน ทัพพระเจ้าฟิลิปที่ 5 และทัพฝรั่งเศสก็สามารถเอาชนะต่างชาติได้หมด และฝรั่งเศสก็กลับมาเป็นฝ่ายบุกอีกในค.ศ. 1712 ในค.ศ. 1705 จักรพรรดิโจเซฟ พระเชษฐาของอาร์คดยุคชาร์ลส์สิ้นพระชนม์ ทำให้อาร์คดยุคชาร์ลส์ต้องขึ้นครองราชย์เป็นจักรพรรดิชาร์ลส์ที่ 6 แห่งจักรวรรดิโรมันฯ ทำให้ชาติต่างๆในยุโรป เสิกสนับสนุนจักรพรรดิชาร์ลส์ เพราะเกรงจะมีกำลังมากเกินไป ทำให้ฝ่ายอังกฤษเจรจาสงบศึกพระเจ้าหลุยส์ในค.ศ. 1713เป็นสนธิสัญญาอูเทรกช์ท (Utrecht) และในค.ศ. 1714 กับจักรวรรดิโรมันฯในสนธิสัญญาราสตัตต์ และบาเดน ยอมรับราชวงศ์บูร์บงให้ปกครองสเปน ทำให้สเปนกลายเป็นพันธมิตรสำคัญของฝรั่งเศสต่อมา
พระเจ้าหลุยส์ที่ 14 สิ้นพระชนม์ในปีค.ศ. 1715 ก่อนวันคล้ายวันประสูติพระชนม์มายุ 77 พรรษาไม่กี่วัน ทรงครองราชย์ 72 ปี ยาวนานกว่ากษัตริย์ยุโรปอื่นใด พระองค์พระชนมายุยาวนานมาก จนพระโอรสและนัดดาสิ้นพระชนม์ไปก่อนหมด เหลือเพียงดยุคแห่งอังชูที่ยังพระเยาว์ ขึ้นครองราชย์เป็นพระเจ้าหลุยส์ที่ 15 แห่งฝรั่งเศส

พระเจ้าหลุยส์ที่ 15 (ค.ศ. 1715 ถึง ค.ศ. 1774)[แก้]

พระเจ้าหลุยส์ที่ 15 ยังทรงพระเยาว์จนต้องมีผู้สำเร็จราชการแทนหลายคน เริ่มที่ดยุคแห่งออร์เลียงส์ เข้าร่วมสงครามจตุรมิตร (War of the Quadraple Alliance - ประกอบด้วยฝรั่งเศส อังกฤษ ออสเตรีย และเนเธอร์แลนด์ - ไม่เกี่ยวกับสี่โรงเรียน)เมื่อพระเจ้าฟิลิปที่ 5 แห่งสเปนและราชินีอลิซาเบธ ฟาร์เนสที่ทะเยอทะยาน ต้องการกอบกู้ดินแดนในอิตาลีและกลุ่มประเทศแผ่นดินต่ำที่เสียไปในสงครามสืบราชสมบัติสเปน ผลคือความพ่ายแพ้ของสเปน ต่อมาคาร์ดินัล เฟลอรี (Cardinal Fleury) ทำสงครามสืบราชสมบัติโปแลนด์ สตานิสลาส เลสเซนสกี ต้องการเป็นพระมหากษัตริย์โปแลนด์ แต่จักรพรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ต่อต้าน ฝรั่งเศสเห็นโอกาสที่จะทำลายอำนาจออสเตรีย จึงทำสงคราม แต่สนธิสัญญาเวียนนาใน ค.ศ. 1735 เลสเซนสกีได้เป็นดยุคแห่งลอร์เรน ซึ่งเมื่อเลสเซนสกีเสียชีวิตใน ค.ศ. 1766 แคว้นลอร์เรนจึงตกเป้นของฝรั่งเศส ทำให้ฝรั่งเศสมีอาณาเขตถึงปัจจุบัน
ด้วยความทะเยอทะยานของพระเจ้าฟรีดริชมหาราชแห่งปรัสเซีย ที่ต้องการจะยึดบัลลังก์จากจักรพรรดินีมาเรีย เธเรซา ด้วยเหตุที่พระนางเป็นสตรี ทำให้ยุโรปเกิดสงครามสืบราชสมบัติออสเตรีย ฝรั่งเศสจึงหวังจะได้ชิงบัลลังก์ออสเตรียบ้าง แต่ปรัสเซียก็เริ่มจะมีอำนาจมากไป จึงเกิดการปฏิวัติทางการทูต ฝรั่งเศสหันไปหาออสเตรียศัตรูเก่าแก่ เพื่อต้านปรัสเซียและบริเตน ผลคือสงครามเจ็ดปี การสู้รบมีในอาณานิคมด้วย ซึ่งฝรั่งเศสผูกมิตรกับชาวพื้นเมือง เพื่อช่วยรบกับบริเทน แต่พ่ายแพ้ยับเยิน จนสนธิสัญญาปารีส ค.ศ. 1763 ฝรั่งเศสเสียอาณานิคมในอเมริกาทั้งหมดให้บริเตน
ในศตวรรษที่ 18 ในยุโรปเป็นยุคภูมิธรรม (Age of Enlightenment) เป็นสมัยปรัชญาแนวคิดแบบใหม่ที่แปลกแยกออกจากธรรมเนียมเก่า ๆ เฟื่องฟู ฝรั่งเศสก็มีนักปราชญ์ที่สำคัญสามคนแห่งยุค คือ รุสโซ มองเตสกิเออ และวอลแตร์ ที่เสนอคติแนวความคิดการปกครองแบบใหม่ ใน ค.ศ. 1751 มีการพิมพ์หนังสือ Encyclopédie เป็นหนังสือรวบรวมความรู้วิทยาการทุกแขนง

พระเจ้าหลุยส์ที่ 16 (ค.ศ. 1774 - ค.ศ. 1793)[แก้]

พระนางมารี อังตัวเนต องค์หญิงชาร์ลอต องค์ชายหลุยส์-โจเซฟ และองค์ชายหลุยส์-ชาร์ลส์ (พระเจ้าหลุยส์ที่ 17)
ความฟุ่มเฟือยของราชสำนักและสงครามที่พ่ายแพ้ทำให้เศรษฐกิจของฝรั่งเศสตกต่ำลง พระคลังเป็นหนี้ทั่วยุโรป พระเจ้าหลุยส์ที่ 16 จึงทรงแต่งตั้งผู้ที่มีความสามารถเพื่อกอบกู้สถานการณ์ เช่น ตูร์โกต์ ซึ่งพยายามจะเก็บภาษีแบบใหม่ๆ แต่ประชาชนถูกเก็บภาษีหลายประเภทแล้ว เลยพากันฐานะยากจนกันไปหมด จึงเก็บภาษีจากสินค้าต่างๆแทน แต่บรรดาขุนนางอ้างว่ากษัตริย์ไม่มีพระราชอำนาจที่จะตั้งภาษีใหม่ แต่เป็นสภาฐานันดร (Estates-General) ต่างหาก พระเจ้าหลุยส์ทรงเห้นว่าตูร์โกต์ใช้ไม่ได้ แลยตั้งเนคแกร์ขึ้นมาแทนในค.ศ. 1776 พอดีกับอาณานิคมของบริเทนในอเมริกาประกาศเอกราชในสงครามปฏิวัติอเมริกา เนคแกร์ให้สนับสนุนฝ่ายอเมริกาโดยส่งมาร์ควิสแห่งลาฟาแยตไปช่วย จนฝ่ายอเมริกามาประกาศเอกราชที่ปารีสในค.ศ. 1783
ในค.ศ. 1783 พระเจ้าหลุยส์ทรงแต่งตั้งกาโลนน์ กาโลนน์ใช้วิถีการแก้ปัญหาโดยการใช้จ่ายอย่างฟุ่มเฟือยเพื่อสร้างเครดิต กาโลนน์ขอให้สภาขุนนางค.ศ. 1787 ผ่านร่างวิธีแก้ปัญหาแบบฟุ่มเฟือยนี้ แต่บรรดาขุนนางพอได้ยินจำนวนหนี้ของอาณาจักรก็พากันตกใจและยับยั้งร่างทันที พระเจ้าหลุยส์จึงทรงตั้งเดอเบรียง เดอเบรียงใช้กำลังบังคับให้พวกขุนนางผ่านร่างแก้ปัญหาของเขา จนบ้านเมืองแทบจะเกิดจลาจล เพราะเดอเบรียงใช้อำนาจบาตรใหญ่ ในค.ศ. 1789 เดอเบรียงจึงถูกปลดและพระเจ้าหลุยส์ก็เรียกเนคแกร์กลับมาแก้ปัญหาอีกครั้ง

การปฏิวัติฝรั่งเศส (ค.ศ. 1793 - ค.ศ. 1804)[แก้]

ใน ค.ศ. 1789 พระเจ้าหลุยส์ทรงเรียกประชุมสภาฐานันดร เพื่อแก้ปัญหาความวุ่นวายต่าง ๆ หลังจากที่ไม่ได้ประชุมมาประมาณสองร้อยปีแล้ว สภาฐานันดร คือ สภาของสามชนชั้น (ขุนนาง บาทหลวง และสามัญชน) ปัญหาคือแต่ละฐานันดรออกเสียงได้หนึ่งเสียง เกิดความไม่เท่าเทียม เพราะฐานันดรที่ 3 (สามัญชน) คือคนทั้งประเทศ ถูกพวกขุนนางกับบาทหลวงออกเสียงชนะหมด ทำให้สามัญชนไม่อาจแสดงความต้องการและปัญหาของตนได้ จนพระเจ้าหลุยส์ทรงให้ฐานันดรที่ 3 มีเสียงเป็นสองเท่าของสองฐานันดรแรก แต่พอถึงเวลาจริงพระเจ้าหลุยส์ตรัสให้สภาออกเสียง "ตามพระราชโองการ" ฐานันดรที่ 3 จึงแยกตัวออกไปเป็น "สมัชชาแห่งชาติ" (National Assembly)

สมัชชาแห่งชาติ (ค.ศ. 1789 - ค.ศ. 1791)[แก้]

คำสาบานสนามเทนนิส
พระเจ้าหลุยส์มีพระราชโองการให้ปิดสถานที่ประชุมของฐานันดรที่ 3 ทำให้บรรดาสมาชิกสภาเปียกฝนกันอยู่ด้านนอก จึงให้คำปฏิญาณสนามเทนนิส (Tennis Court Oath) ว่าพวกตนจะไม่สลายตัวจนกว่าจะได้ระบอบปกครองใหม่ ในที่สุดพระเจ้าหลุยส์ก็ทรงยอมรับสมัชชาแห่งชาติ สมัชชาแห่งชาติจึงเปลี่ยนเป็น สภาร่างรัฐธรรมนูญแห่งชาติ (National Constituent Assembly) แต่ทัพฝรั่งเศสและทหารรับจ้างเยอรมันตามชายแดนเริ่มคืบเข้ามาประชิดกรุงปารีส และพระเจ้าหลุยส์ทรงปลดฌักส์ เน็กแกร์ ที่ผ่อนปรนพวกฐานันดรที่ 3 ออกจากตำแหน่ง ทำให้ประชาชนชาวเมืองปารีสลุกฮือ บุกไปเอาดินปืนที่คุกบาสตีย์ เพื่อเอาไปยิงทัพที่มาบุกปารีส แต่ผู้คุมไม่ยอม จึงเกิดการปะทะ กลุ่มผู้ประท้วงที่โกรธแค้นสังหารตัดคอผู้คุมและแห่ศีรษะไปตามถนน และสังหารนายกเทศมนตรีปารีส
เหตุการณ์นี้ทำให้พระเจ้าหลุยส์ต้องทรงยอมรับธงไตรรงค์เป็นธงฝรั่งเศส แทนธงของราชวงศ์บูร์บงเดิม พวกขุนนางและพระราชวงศ์หลบหนีออกนอกฝรั่งเศส เรียกว่า พวกเอมิเกร (émigre)
ในสมัชชาก็แบ่งเป็นสองฝ่าย คือฝ่ายขวาอนุรักษนิยม รักษาระบอบเก่า กับฝ่ายซ้ายหัวปฏิวัติ นักปฏิวัติที่ได้รับการเคารพนับถือที่สุด คือมิราโบ ซึ่งเสนอแนวทางแก้ปัญหาหลายอย่าง แต่ถูกผู้นำปฏิวัติอื่น ๆ คัดค้าน ในค.ศ. 1790 สมัชชาแห่งชาติประกาศ "คำประกาศว่าด้วยสิทธิมนุษยชนและสิทธิพลเมือง" (Declaration of the Rights of Man and Citizen) ประกาศเสรีภาพในทุกเรื่อง ล้มเลิกระบอบขุนนาง แต่พระเจ้าหลุยส์ก็ยังทรงพยายาม เรียกทัพจากชายแดนมาปราบกบฏ และจัดงานเลี้ยงเหยียบย่ำธงไตรรงค์ที่แวร์ซาย ทำให้กรุงปารีสจลาจลและทหารปฏิวัติ (National Guard) มาบุกพระราชวังแวร์ซาย ขับพระราชวงศ์ออกไป พระเจ้าหลุยส์และพระราชวงศ์จึงหนีไปประทับที่พระราชวังตุยเลอรีส์แทน
นโยบายที่รุนแรงที่สุดของสมัชชาแห่งชาติคือการทำบรรพชิตให้เป็นพลเมือง (Civil Constitution of Clergy) บาทหลวงจึงไม่ต่างกับสามัญชน เท่ากับไม่ยอมรับศาสนา บาทหลวงจำนวนมากที่ไม่ยอมจำนนต่อสมัชชาแห่งชาติ พากันหนีไปหลบซ่อนตัวตามที่ต่างๆ เสรีภาพทำให้เกิดแนวความคิดและสมาคมทางการเมืองขึ้นมามากมาย ที่โด่งดังที่สุดก็คือสมาคมฌากอแบ็ง (Jacobin)
ใน ค.ศ. 1791 พระเจ้าหลุยส์และพระราชวงศ์ทรงพยายามจะหลบหนีออกนอกประเทศ แต่ด้วยขบวนเสด็จที่แม้จะรีบร้อนแต่ก็หรูหรา ทำให้ทรงถูกจับได้ง่าย ๆ ที่วาเรนส์ ทำให้ประชาชนเกรงว่าพระเจ้าหลุยส์จะยึดอำนาจคืน จึงเรียกร้องให้ล้มระบอบกษัตริย์ที่ทุ่งชองป์-เดอ-มาส์ แต่ถูกทหารปฏิวัติสังหารอย่างโหดร้าย จักรพรรดิเลโอโปล์ดที่ 2 แห่งจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ พระเชษฐาของพระนางมารีอังตัวเนต จึงทรงขอความสนับสนุนจากประเทศต่าง ๆ กู้อำนาจคืนให้พระเจ้าหลุยส์ ในที่สุดรัฐธรรมนูญปีค.ศ. 1791 ก็เสร็จสิ้น สมัชชาแห่งชาติสิ้นสุด กลายเป็นสภานิติบัญญัติ (Legislative Assembly) ฝรั่งเศสจึงกลายเป็นระบอบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น